จัดการความเครียด

จัดการความเครียด แก้ปัญหา หรือแก้อารมณ์
ความเครียดเรื้อรังเป็นสาเหตุของการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า  การจัดการความเครียดที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการคลี่คลายปัญหาซึมเศร้าของเรา

ความเครียดเป็นปฏิกิริยาของร่างกายและจิตใจซึ่งออกแบบมาตามวิวัฒนาการเพื่อให้มนุษย์ได้มีความสามารถในการเอาตัวรอด ในสถานะการณ์มีภัยคุกคาม ขาดความปลอดภัย ดังนั้นกล่าวได้ว่าปฏิกิริยาความเครียดคือปฏิกิริยาเอาตัวรอด

เมื่อเรามีความเครียดน้ำเลือดในร่างกายจะมากขึ้น เลือดปั๊มไปทั่วร่างกาย กล้ามเนื้อจะเกร็งตัว หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ลำไส้จะทำงานน้อยลง เลือดจะไปเลี้ยงร่างกายที่เป็นกล้ามเนื้อทำให้สามารถหนีภัยคุกคาม และต่อสู้เอาตัวรอด ความเครียดในอดีตแบบนี้สามารถแก้ไขจัดการในระยะเวลาสั้นๆ

สาเหตุความเครียดในปัจจุบันไม่เหมือนเดิม เป็นความเครียดเรื้อรัง กัดกร่อน เช่น รถติด ต้องเร่งงาน อยู่ในความสัมพันธ์ที่ทำให้รู้สึกด้อยคุณค่าลง ไม่สามารถแก้ไขจัดการได้ในระยะเวลาสั้นๆ  ร่างกายเร่งปฏิกิริยาความเครียดอย่างต่อเนื่อง  ถ้าเปรียบกับรถยนต์ที่เร่งเครื่องตลอดเวลา เครื่องยนต์ก็สึกหรอจนกระทั่งหมดสภาพในการใช้งาน  ความเครียดเรื่้อรังทำให้เราเศร้าได้ จากการทดลองในสัตว์ และสังเกตจากชีวิตจริง

การทดลองในสัตว์ สุนัข  "ภาวะจำยอม"
ทดลองครั้งที่ 1
สุนัขกลุ่ม 1 อยู่ในสภาพที่ไม่ว่าจะต่อสู้ดิ้นรนอย่างไร ก็ไม่สามารถหนีรอดได้จากไฟฟ้าช๊อต
สุนัขกลุ่ม 2 เมื่อดิ้นรนและสามารถหนีออกมาได้เพราะไปเหยียบคานหยุดกระแสไฟฟ้า
ทดลองครั้งที่ 2
สุนัขกลุ่มที่ 1 จากการทดลองครั้งที่ 1 จะไม่ดิ้นรนต่อสู้ จริงๆ แล้วสามารถกระโดดข้ามรั้วเตี้ยๆออกมาได้ ถ้าพยายามค้นหาการเอาตัวรอด เนื่องจกาสุนัขกลุ่มนี้อยู่ในความคิดความรู้สึกว่าไม่ว่าจะต่อสู้ดิ้นรนอย่างไรก็ไม่สามารถหนีรอดได้ จึงทำให้เกิด "ภาวะจำยอม" และนี่คือสาเหตุของอาการซึมเศร้า
สุนัขกลุ่มที่ 2 จากการทดลองครั้งที่ 1 จะดิ้นรนต่อสู้ และในที่สุดสามารถกระโดดข้ามรั้วเตี้ยนั้นออกมาได้

กลไกความเครียดทั่วๆ ไป มี 2 อย่าง

  1. ความเครียดที่กดดันต่อเนื่องยาวนาน มองอนาคตไม่ดีขึ้น ทำให้รู้สึกแย่ลง
  2. มองตัวเองในแง่ลบ ความรู้สึกแย่กับตนเอง แปลงความเครียดเป็นความซึมเศร้า
ความเครียดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
  1. ความเครียดที่เกิดจากเหตุภายนอก เช่น ภาวะตกงาน สอบตก อกหัก
  2. ขบวนการภายในใจ เหตุการณ์การที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง ไม่ชัดเจน แต่ขบวนการคิด คิดไปเอง เช่น ที่ทำงานเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ ก็กลัวว่าตนเองจะถูกออกจากงาน
  3. เหตุการ์ณในอดีตที่ยังคงฝังใจ รบกวนจิตใจในปัจจุบัน คิดวนเวียนเรื่องในอดึตทำให้รู้สึกแย่
ความกดดันจากภายนอกทำให้มนุษย์มีจุดเปลี่ยนเติบโตมากขึ้น ยกระดับพัฒนาจิตใจได้ เช่น เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง การปฏิบัติต่อผู้คนที่อยู่ในค่ายกักกัน ให้ทำงานหนัก ให้รู้สึกด้อยคุณค่า ทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ให้อาหารน้อย และขู่ว่า ถ้าไม่สามารถทำงานได้จะถูกส่งไปห้องรมควันเพื่อฆ่าทิ้ง ความกดดันทั้งทางร่างกายและทางจิตใจเช่นนี้ ทำให้กลุ่มผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังอยู่รอด

จิตแพทย์ชาวยิวในค่ายกักกันนี้ได้ตั้งคำถามกับตนเองว่าทำไมในสภาพกดดัน ท้อแท้ เจ็บปวด ตัวเองยังสามารถอยู่รอดได้ เขาได้คำตอบให้ตนเองว่า
  1. เขามีความเชื่อว่า แม้ว่าสถานการณ์เลวร้ายเพียงใด แต่สักวันมันจะจบสิ้นลง ไม่มีเหตุการณ์ใดอยู่ได้ตลอดไป ทุกอย่างต้องมีจุดเปลี่ยนและสิ้นสุดลงในที่สุด ทำให้เขามีความหวัง
  2. เขามีจุดหมายที่อยากจะทำเมื่อผ่านพ้นเหตุการ์ณนี้ไปแล้ว เขาอยากค้นหาว่าภรรยาของเขาที่ถูกกักขังอยู่ในค่ายอื่น ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ทำให้เขารู้ว่าเขามีจุดหมายอยู่ไปเพื่ออะไร
ทบทวนวิธีการจัดการความเครียด
  1. เหตุการ์ณที่เกิดขึ้น
  2. อารมณ์ความรู้สึกตอนที่เครียด
  3. ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
  4. สิ่งที่ทำไป
  5. สังเกตสิ่งที่ทำไปเป็นการแก้ปัญหาของสาเหตุของความเครียด หรือเป็นเพียงการแก้อารมณ์ให้ผ่อนคลาย
*ทั้งนี้ต้องการให้เรียนรู้และเข้าใจว่าแก้ปัญหาถูกจุดไหม และจะได้สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น*

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบฝึกหัด 8

แบบฝึกหัด 5