บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2019

จัดการความโกรธ

ความโกรธเป็นอารมณ์ที่ใกล้เคียงและมีความสัมพันธ์กับอารมณ์เศร้า  หลายครั้งเวลาที่เราศร้าภายในใจของเรามีอารมณ์โกรธปะปนอยู่ด้วย ทำความเข้าใจกลไกของความโกรธและความเศร้าให้ชัดเจนขึ้น โดยมีจุดหมายปลายทางที่สำคัญก็คือ ถ้าจัดการความโกรธได้เท่ากับจัดการความเศร้าได้ ในอดีตนักจิตวิเคราะห์ได้ตั้งทฤษฎีไว้ว่า "อารมณ์เศร้าคือความโกรธที่หันพุ่งเข้าตัวเอง" โกรธตัวเองเป็นกลไกอย่างหนึ่งของความเศร้า คนที่มีอาการซึมเศร้า พบว่าหลายคนจะมีอารมณ์โกรธเก็บภายในใจ โดยเฉพาะความโกรธที่ไม่สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นความโกรธคนอื่น และนำมาโกรธตัวเอง ความโกรธตัวเองเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญของการเกิดอารมณ์เศร้า หลายคนจะไม่เฉพาะโกรธตัวเอง แต่จะไม่ชอบตัวเอง รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง จนถึงเกลียดตัวเอง จะมีคำพูดต่อว่าตำหนิตัวเอง สังเกตอะไรเป็นสาเหตุทำให้โกรธ ไม่ได้ดั่งใจ ถูกขัดใจ ทำให้โกรธ มีคนปฏิบัติไม่ดีต่อเรา พูดไม่ดี ทำไม่ดีต่อเรา ทำในสิ่งที่คุกคาม ล้ำเส้น ไม่ให้เกียรติ ดูถูกดูแคลน ทำให้เสียหน้า ทำให้เสียความรู้สึก ผิดหวัง เสียใจ มักจะเกิดกับคนที่อยู่ใกล้ชิดกับเรา ทำให้รู้สึกเจ็บปวดจากคำพูดเสียดแทง

แบบฝึกหัด 7

ทบทวนความสัมพันธ์กับคนรอบข้างใช้ภาษารักอะไร ถ้าเป็นภาษารักที่ไม่ได้รับสัญญาณจากทั้ง 2 ฝ่าย จึงต้องปรับเปลี่ยนภาษารักให้ตรงและเข้าใจกัน สังเกตความสัมพันธ์กับคนไหน แบบไหน ที่ทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง หรือที่ทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง ดูแลความสัมพันธ์ให้สามารถตอบโจทย์ท้้ง 2 ฝ่าย เช่น ในฐานะที่เราเป็นเพื่อนกัน คนรักกัน ครอบครัวเดียวกัน คุณคาดหวังอะไรกับตัวเอง และเขา ในความสัมพันธ์นั้น ทบทวนความสัมพันธ์แล้วดูว่า ความสัมพันธ์ต่างๆ มีผลต่อความรู้สึกของคุณอย่างไร โดยเฉพาะอารมณ์เศร้า ดูว่าคุณจะตอบโจทย์ให้ดีขึ้นในความสัมพันธ์นั้นได้อย่างไร โดยถามตัวเองว่า ต้องการอะไร คาดหวังอะไร ทบทวนจัดหาความลงตัวของความสัมพันธ์นั้นให้ทุกฝ่ายได้ ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งได้ อีกฝ่ายเสีย บันทึกย่อ อารมณ์ของเราจะทุกข์ สุข เครียด ตลอดไปจนถึงซึมเศร้า ขี้นอยู่กับความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่เรารัก คนที่เราแคร์ ในกรณีความสัมพันธ์ที่เรารู้สึกแย่กับทุกๆ คน  น่าจะเกิดจากขบวนการภายในใจของตัวเราเอง เช่น การเปรียบเทียบที่ทำให้รู้สึกด้อยตลอดเวลา เป็นขบวนการภายในใจที่รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง ต่อว่าตัวเองรู้สึกแย่กับต

จัดการความสัมพันธ์ 2

ใส่ใจคนรอบข้าง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความสัมพันธ์ให้นิยาม "ความรัก" ว่า ความรักหมายถึงการใส่ใจ และการให้เกียรติ เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย ดำเนินไปได้ด้วยดี  สิ่งที่เราสามารถทำได้จากฝ่ายของเราคือ ใส่ใจเขาอย่างถูกวิธี เรารักใครเราก็จะใส่ใจคนคนนั้น เมื่อมีใครมาใส่ใจเรา เราก็เหมือนว่าได้รับการยอมรับ และได้รับความรักไปด้วย ความใส่ใจคือภาษารักอย่างหนึ่ง วิธีการแสดงออกในการใส่ใจของภาษารักแบ่งออกเป็น 5 อย่าง (5 ภาษารัก) เวลาคุณภาพ เวลาเรารักใครเราก็จะจัดเวลาให้เขา เวลาที่มีคุณภาพ แสดงความห่วงใย ความรักความใส่ใจ บริการจากใจ เช่น ชวนเพื่อนร่วมงานไปทานข้าวเที่ยง เราก็สามารถดูแลความสะดวกในเวลาทานอาหาร บริการทิชชู น้ำดื่ม  ทำอาหารอร่อยให้คนในครอบครัวรับประทานร่วมกัน ทำงานบ้าน ซ่อมสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้านที่ชำรุดกลับมาใช้ได้ใหม่ สัมผัสทางกาย ลูบหัวเด็กๆ ด้วยความรักความเอ็นดู  ลูบหลัง แตะไหล่ กอดจูบ หอมแก้ม  มีเพศสัมพันธ์ เป็นการแสดงความรักผ่านทางร่างกาย คำชื่นชม  เห็นข้อดีของอีกฝ่าย เราชื่นชมการกระทำของเขา ชื่นชมสิ่งดีที่เขามีอยู่ ชื่นชมความตั้งใจ ชื่นชมจิตใจที่ดีงาม เมื

จัดการความสัมพันธ์ 1

เปิดสังคมคนรู้ใจ เมื่อเราสังเกต ความสุข ความทุกข์ และอารมณ์ของเราขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่เรามีกับคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนในครอบครัวเดียวกัน คนที่เราอยู่ด้วยเป็นประจำทุกวัน  จากงานวิจัยความสุขขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เพื่อนฝูง  ความสัมพันธ์ที่มีปัญหาบางอย่างเป็นสาเหตุของความรู้สึกแย่กับตัวเอง ความรู้สึกด้อย ความรู้สึกเศร้า ดังนั้นการจัดการกับความสัมพันธ์ที่มีกับคนอื่น คนในครอบครัว คนที่ทำงาน จะสามารถช่วยจัดการความเศร้าได้ด้วย ความสัมพันธ์แบบไหน ความสัมพันธ์ที่ทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง คนที่ใส่ใจเรา ให้เกียรติเรา  ทำให้เรารู้สึกมีคุณค่า ทำให้รู้สึกเติบโตเมื่ออยู่ใกล้ ความสัมพันธ์ที่ทำให้รู้สึกแย่กับตัวเอง  คนที่วางตัวเหนือกว่า ข่มกดเราไว้  ทำให้รู้สึกไม่มีคุณค่า ดังนั้นต้องทบทวบความสัมพันธ์ เกิดอะไรขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ เพื่อจัดการความสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ความสัมพันธ์เกิดขึ้นระหว่างคน 2 ฝ่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องพึ่งพิงอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเดียว โดยที่เขาต้องมาดูแลจิตใจของเรา คนที่ต้องดูแลจิตใจคือตัวเราเอง ทั้ง 2 ฝ่ายดูแลซึ่งกันและกัน ปฏิสัมพันธ์ค

แบบฝึกหัด 6

ความคิดวน คิดวนตอนไหน เรื่องอะไร รู้สึกอย่างไร สังเกตความรู้สึกภายในร่างกายเป็นอย่างไร เพื่อรู้ตัวเร็วขึ้น จัดการความคิดวนโดยใช้การจัดการความคิดวน 4 ขั้นตอน จากบทเรียน คิดในร่องใหม่ ชื่นชมตัวเอง คิดบวก ถอยออกมามองความคิดนั้นโดยไม่ต้องคิด สังเกตความรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง กำลังคิดอะไร คาดหวังอะไร ความคาดหวังนั้นเหมาะสมหรือไม่ ใช้ขบวนเมตตาตัวเอง 4 ข้อ  จากบทเรียน ค้นหาจุดหมายที่มีคุณค่า ลงมือทำ จะทำให้จิตใจจดจ่อต่อจุดหมาย เมื่อได้รับความสำเร็จจะทำให้รู้สึกดีกับตัวเอง บันทึกย่อ การจัดการทางความคิดวน เนื่องจากอารมณ์ยังผูกพันธ์กับความคิดนั้น ความคิดยิ่งวิ่งวน ยิ่งมีพลังมากขึ้น และให้โทษอย่างมาก หากเคยชินกับความคิดวนอาจจะจมกับความคิดนั้น  คือเราต้องรู้ตัวโดยสังเกตความรู้สึกภายในร่างกาย มันเป็นความรู้สึกบางอย่างสามารถใช้เป็นสัญญานทำให้เรารู้ตัวได้ ความคิดตัดสินทำให้รู้สึกแย่ โกรธ ผิดหวัง และต่อว่าตัวเอง ความคิดตัดสินมีความสัมพันธ์กับความคาดหวัง ดังนั้นให้ทบทวนว่าความคาดหวังนั้นเหมาะสมหรือไม่ ทำได้จริงไหม และมีความยืดหยุ่นกับความคาดหวังนั้น เนื่องจากการฝึกฝนในหัวข้อเรื่องความคิด

เมตตาตัวเอง

จากการพบว่าผู้ทีมีอาการซึมเศร้า จะมีความคิดโทษตัวเอง ตำหนิตัวเอง มีความคาดหวังที่มีต่อตนเอง ตัดสินตัวเอง โกรธตัวเอง เราจะจัดการกับความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตัวเอง ความรู้สึกที่ไม่มีความสุขต่อตัวเอง ในคำสอนของเมตตาสามารถแก้ความโกรธได้ดี ความคาดหวังที่มีต่อตนเอง ความคาดหวังก่อตัวตั้งแต่วัยเด็ก อาจจะเกิดจากความคาดหวังจากพ่อแม่ และเปลี่ยนมาเป็นความคาดหวังของตนเอง ความคาดหวังที่สูง เมื่อไม่สามารถทำได้ตามเกณฑ์ เกิดความคิดตัดสินตัวเอง โทษตัวเอง โกรธตัวเอง และมึความเศร้าตามมา นอกจากนี้ยังมีความคาดหวังที่มีต่อคนรอบข้าง  ความคิดตัดสินเกิดขึ้น ตัดสินคนอื่นทำให้เกิดอารมณ์โกรธ ตัดสินตัวเองทำให้เกิดอารมณ์เศร้า และรู้สึกผิด ทบทวนฐานความคาดหวังของตนเอง ความคาดหวังนี้เหมาะสมเพียงใด สำรวจใจตัวเองเราคาดหวังตัวเองอย่างไร คาดหวังคนอื่นอย่างไร ความคาดหวังนั้นเป็นไปได้เพียงไร ขบวนปรับความคาดหวังนั้นให้ยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถทำได้จริง และประสบความสำเร็จ ทำให้มีความสุข เมตตาตัวเอง มองเห็นข้อดีและชื่นชมตนเองอย่างจริงใจ "ทำได้เท่านี้ก็ดีแล้ว" ชื่นชมตัวเอง ปรับความคาดหวังให้เหมาะสม สอดคล้องกับระดับค

จัดการความคิดวน

เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญทำให้ต้องใช้ความคิดทบทวน แต่บางครั้งกลายเป็นการคิดวน คิดซ้ำมากเกินความจำเป็น  ถึงแม้รู้ว่าไม่ควรคิดและไม่ได้อยากคิด แต่เราไม่สามารถหลุดจากความคิดนั้นได้ อาการนี้สามารถพบในคนที่มีอาการซึมเศร้า โดยพื้นฐานจากการคิดวนไปจนถึง "ย้ำคิด" ทำให้เกิดความเครียด และเมื่อเครียดเรื้อรังก็จะเป็นปัจจัยทำให้เราเศร้า  ในทางกลับกันเมื่อคนที่มีอาการซึมเศร้าแล้ว ความซึมเศร้าทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง เกิดความลังเลไม่กล้าตัดสินใจ สภาพเช่นนี้ทำให้เกิดความคิดวน เพื่อจะทำสิ่งต่างๆ ให้ได้ดี  แต่มันไม่ใช่และยังทำให้เสียพลังงาน ทำให้มีอารมณ์กังวล และวนกับความเศร้าต่อไป การคิดวนจึงเป็นสิ่งคู่กับคนที่จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า หรือพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าแล้ว วิธีจัดการความคิดวน เพื่อจะได้ไม่มาเป็นปัจจัยย้ำอาการเศร้า  ความคิดวนมี 2 แบบ ความคิดวนในเรื่องอดีต เหตุการณ์ที่อารมณ์ยังติดพัน  => คิดทบทวนซ้ำสิ่งที่เกิด/สิ่งที่น่าจะพูดน่าจะทำ แต่ก็ไม่ได้ทำเพราะคิดไม่ทันในขณะเกิดเหตุการณ์นั้น => ความคิดตัดสิน ตัดสินตนเองทำให้เศร้า ตัดสินคนอื่น คู่กรณี ทำให้โก

แบบฝึกหัด 5

ฝึกสังเกตตัวเองในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งอารมณ์บวกและอารมณ์ลบ มีอารมณ์อะไรบ้าง มีความคิดอะไรบ้างภายในใจ ฝึกเรียกชื่ออารมณ์นั้นๆ  อารมณ์นั้นบอกความต้องการอะไร แปลงความต้องการนั้น แล้วเลือกว่าเราจะต้องลงมือทำอะไร ไม่ว่าอยากทำ หรือไม่อยากทำ แต่เราก็จะต้องเลือกการกระทำที่ตอบโจทย์ชีวิตในระยะยาว บันทึกย่อ การเข้าใจธรรมชาติของอารมณ์ จะเป็นประโยชน์ เพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการความคิดและอารมณ์ เนื่องจากบางครั้งในเวลาเดียวกัน เรามีหลากหลายอารมณ์ หลากหลายความคิด และหลากหลายความต้องการ ทำให้จัดการได้ยาก และสับสน เราไม่สามารถทำทุกอย่างให้ได้ทุกอย่าง แต่เราเลือกได้ที่จัดการกับมันอย่างไร เมื่อไร ในเวลาที่เหมาะสม

จัดการอารมณ์ 2

เผชิญหน้าทุกอารมณ์ โดยธรรมชาติของคนเรา เวลาที่เราพบกับอารมณ์ที่เป็นบวก เช่น ความสมหวัง ความดีใจ ความตื่นเต้น ความสุข ความพอใจ อารมณ์เหล่านี้เรามักจะยอมรับและก็อยู่กับมันได้โดยไม่มีปัญหา แต่เมื่อเรารับรู้กับอารมณ์ที่เป็นลบ เช่น ความโกรธ ความกลัว ความเศร้าเสียใจ ความผิดหวัง ความรู้สึกผิด ความรู้สึกขยะแขยง เรามักจะมีท่าทีไม่ยอมรับ โดยปฏิเสธ หลีกเลี่ยง  เบียงเบน ไม่รับรู้ เพื่อจะได้ไม่ทุกข์ แต่ปฏิกิริยาของการไม่ยอมรับอารมณ์ลบ เป็นที่มาของปัญหา  เมื่อปฏิเสธไม่ยอมรับ ก็จะทำให้ไม่ชอบอารมณ์ลบ โกรธตัวเองที่มีอารมณ์ลบ ทำให้ซับซ้อนสับสนยิ่งขึ้น แต่ถ้าเรายอมรับอารมณ์ลบนั้นเราก็จะสามารถจัดการอารมณ์ลบนั้นง่ายขึ้น ซึ่งมีหลัก ตระหนักรู้เท่าทันอารมณ์ลบนั้นๆ จัดการกับความคิด โดยวิธีจัดการตามเนื้อหาความคิด และจัดการขบวนการความคิด สังเกตทุกอารมณ์ทั้งบวกและลบสามารถทำให้เรารับรู้อะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในใจ หรืออารมณ์บอกสัญญาณความต้องการภายในใจ ความต้องการการยอมรับจากคนที่รัก* ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการความสงบทางใจ ความต้องการสำเร็จให้รู้สึกภูมิใจ ความต้องการอิสรภาพทางความคิด

จัดการอารมณ์ 1

อารมณ์คือสัญญาณ ชีพจรชีวิต การเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่มีต่ออารมณ์ของตนเอง มีลักษณะคล้ายกันกับการเปลี่ยนความสัมพันธ์ต่อความคิดตนเอง อารมณ์และความคิดเป็นเรื่องที่ไปด้วยกัน แต่ได้แยกเป็น 2 บท เพื่อให้สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ และแยกแยะอารมณ์กับความคิดได้ดีขึ้น การเปลี่ยนความสัมพันธ์กับอารมณ์  อารมณ์เป็นสัญญาณบอกของชีวิตบางอย่าง ถ้ารับรู้ว่าอารมณ์ในฐานะที่เป็นสัญญาณบอกให้กับเรา ก็จะได้ข้อมูลภายในใจของเรา และนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ โดยเราต้องเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของอารมณ์ ธรรมชาติของอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมคลายลงตามเวลา อารมณ์ไม่สามารถอยู่คงที่ตลอดไป การที่เราเข้าใจว่าอารมณ์ขึ้นได้ลงได้ เป็นบทเรียนที่เรารู้ว่าเราสามารถจัดการกับปัจจัยของอารมณ์ได้ อารมณ์เป็นผลของความคิด เราต้องสังเกตตัวเอง บางครั้งรู้สึกเศร้า เมื่อคิดโทษตัวเอง ตำหนิตัวเอง รู้สึกไม่ดีกับตัวเองเมื่อคิดเปรียบเทียบกับคนอื่น มองอนาคตแล้วไม่เห็นความหวัง มองปัจจุบันเห็นแต่ด้านลบ  ไม่เห็นสิ่งดีๆ ที่ยังมีอยู่ในชีวิตตัวเอง มองอดีตเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น คิดจมกับอดีตในความเจ็บปวด รู้สึกผิดกับเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต สิ่งเหล่านี

แบบฝึกหัด 4

ฝึกการมีสติจากศาสตร์ทุกชนิดที่ชอบและเข้าถึงได้ เช่น โยคะ นั่งสมาธิ ชี่กง ฯลฯ ฝึกรู้ทันความคิดด้วยเทคนิคต่างๆ จดบันทึกความคิด รู้ตัวเมื่อคิด การตั้งคำถามกับความคิดว่าจริงหรือ ถอยออกจากความคิด และพูดว่า "ฉันรู้ว่าฉันกำลังคิด........." การฝึกนี้ต้องฝึกฝนตลอดชีวิต สามารถใช้ในการจัดการความเศร้า เติมสุข และค้นหาจุดหมายของชีวิต บันทึกย่อ การมีสติและรู้ทันความคิดเป็นแกนกลางในการเรียนรู้จัดการอารมณ์และจิตใจ ทั้งสองอย่างนี้ต้องไปด้วยกัน เราต้องมีสติจึงจะสามารถจัดการความคิดของเราได้ โดยทั่วไปเมื่อเรามีอารมณ์ ทุกข์ใจ กังวลใจ เศร้าเสียใจ สิ่งเหล่านี้คือความคิดที่วิ่งอยู่ในหัวของเรา ส่วนใหญ่จะตระหนักในอารมณ์ แต่ไม่ตระหนักในความคิด  เราจึงต้องแยกแยะอารมณ์กับความคิด เพื่อเห็นความคิดได้ชัด เพื่อจัดการกับความคิดทำให้สภาพอารมณ์ดีขึ้น

จัดการความคิด

เปลี่ยนความสัมพันธ์กับความคิดของตัวเองเสียใหม่ การตั้งคำถามระหว่างความสัมพันธ์ของเรากับความคิด  ความคิดที่วิ่งเข้ามาเป็นการพูดกับตัวเอง แต่ละความคิดในหัวของเราจะส่งผลต่ออารมณ์ของเราด้วย เรามักจะเชื่อความคิดของตนเองโดยไม่เคยตั้งคำถามว่ความคิดนั้นมันจริงแค่ไหน ใช่สิ่งที่สามารถทำให้เราไปสู่จุดหมายที่เราต้องการหรือไม่ ดังนั้นการจัดการความคิดเป็นเรื่องของการเปลี่ยนความสัมพันธ์ของความคิดภายในใจของเราเอง แทนที่จะวิ่งตามความคิดของเรา ให้ถอยออกมา มองดูความคิด เลือกที่จะจัดการกับความคิดของตนเองอย่างไร การจัดการความคิดจะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อเราเข้าใจธรรมชาติของความคิดของเราเอง สังเกตธรรมชาติของตนเอง แต่ละคนจะมีนิสัยความคิดเฉพาะตัว เป็น "ร่องความคิด" คือคิดอย่างไร ก็จะคิดอย่างนั้นต่อไป ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ข้อดีไม่ต้องคิดมาก เราปล่อยให้ความคิดวิ่งไปตามอัตโนมัติ แต่เนื่องจากร่องความคิดไม่สามารถนำเราไปสู่จุดมุ่งหมายชีวิตที่เราต้องการ เราสามารถสร้างร่องความคิดใหม่ที่สามารถพาเราไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิตที่เราต้องการได้มากยิ่งขึ้น ตามธรรมชาติเราจะไม่สงสัยความคิดของตนเอง ไม่ตั้งคำถา

สติรู้อยู่กับปัจจุบัน

สติเป็นเรื่องสำคัญในวงการจิตวิทยา เพราะได้รับการศึกษาอย่างเป็นระบบมานาน  การศึกษาในเรื่องของสมอง จากการศึกษาเบื้องต้น ถ้าเราฝึกสามธิเป็นประจำ ฝึกจิตใจให้นิ่ง ตั้งมั่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างต่อเนื่อง เช่น ต่อลมหายใจ ต่อคำพูด "พุทโธ"  เมื่อมีสมาธิ มีความสงบ จดจ่อ การวิจัยพบว่าสามารถแก้อาการซึมเศร้าระดับน้อยถึงปานกลาง นอกจากนี้จากงานวิจัยการฝึกสติวันละ 1ชั่วโมง ติดต่อกัน 8 สัปดาห์ ทำให้สมองมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง และการทำงานของสมองดีขึ้น โดยเส้นใยเชื่อมต่อของสมองส่วนหน้าซึ่งมีหน้าที่ทางความคิดและการวางแผน มายังสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ดังนั้นจึงทำให้มีสติในการจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น กลไกของการปรับอาการซึมเศร้าระหว่างใช้ยา และการปรับความคิด การใช้ยาช่วยรักษาอารมณ์ซึมเศร้า อารมณ์เศร้าดีขึ้น ระบบความคิดดีขึ้น แต่เมื่อติดตามผลสำหรับคนที่รักษาโดยใช้ยา มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ เนื่องจากยังคงมีชุดความคิดเดิม และเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึก ชุดความคิดเดิมที่เป็นทางลบก็ทำงาน การฝึกความคิดในการรักษาอาการซึมเศร้า ฝึกให้ตั้งคำถามกับความคิดขอ