แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

เป็นส่วนหนึ่งของการจัดความเครียดที่ดี เมื่อมีความเครียด

  1. โจทย์ของปัญหาความเครียดที่เข้ามากระทบ
  2. อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดภายในใจ
อารมณ์มีผลต่อการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาที่ได้ผลและไม่ได้ผลมีผลส่งต่ออารมณ์

ต้องตระหนักว่าเป็นการแก้ปัญหา หรือเป็นการแก้อารมณ์ อาจแก้ได้ทั้งสองอย่าง เช่นการมีปัญหาความเครียดและปัญหาสุขภาพ การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ สามารถแก้ได้ทั้งปัญหาและอารมณ์ การแก้ปัญหาแต่ละชนิดจะมีวิธีการไม่เหมือนกัน เราจึงต้องเรียนรู้ ใช้ประสบการณ์ ความเข้าใจ เช่นการซ่อมสิ่งต่างๆ ภายในบ้าน น้ำประปา ไฟฟ้า สิ่งของเครื่องใช้ สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยทักษะ และความรู้ที่เฉพาะเจาะจง  ปัญหาทางเทคนิคต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง ปัญหาทางสุขภาพก็เช่นเดียวกันต้องอาศัยความรู้ แต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนจะทำให้เกิดความเครียด จะหาทางออกได้ยาก มักจะไม่สามารถใช้ความรู้ทางเทคนิคมาจัดการได้ แต่ต้องอาศัยการยอมรับและความเข้าใจ พร้อมที่จะสื่อสารเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน 


ในการจัดการอารมณ์ ถ้าเราสังเกตให้ดีส่วนใหญ่เราจะใช้วิธีการคลายอารมณ์ ทำให้สบายใจขึ้น เช่นการนอนหลับ การร้องไห้ การพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ การไปดูดวง สิ่งเหล่านี้เป็นความพยายามทำให้สบายใจชั่วคราว เมื่อมีจิตใจที่ผ่อนคลาย อาจทำให้มองปัญหาได้ดีขึ้น แก้ปัญหาได้ดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้ในที่สุดเพราะมีจิตที่สงบขึ้น

การจัดการอารมณ์  เพื่อทำความเข้าใจว่าเราต้องการอะไรภายในใจที่อยู่ในส่วนลึก สามารถเรียนรู้จากอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในใจของเรา  ใช้อารมณ์เป็นตัวชี้นำในการดำเนินชีวิตได้


การแก้ปัญหาให้เป็นระบบเราจึงดูความเป็นธรรมชาติของปัญหานั้นๆ วิธีการเช่นใดที่จะเหมาะสมกับการแก้ปัญหานั้น  การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เป็นหลัก ในส่วนของความสัมพันธ์ที่ไม่มีหลักการตายตัว มี 5 ขั้นตอนดังนี้
  1. ตั้งคำถามว่า "มันเป็นปัญหาอย่างไรสำหรับเรา" ตัวอย่างเช่น เลิกกับแฟน เป็นปัญหาอย่างไร เจ็บปวดใจ เสียหน้า ตอกย้ำอดีต ห่วงอนาคต รู้สึกแย่กับตัวเอง และความรู้สึกแย่กับตัวเองนี้เป็นตัวตอกย้ำทำให้เกิดอารมณ์เศร้า ถามต่อสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาอย่างไร
  2. เราห่วงหรือกังวล เรื่องอะไรบ้าง
  3. แต่ละประเด็นเราทำอะไรได้บ้าง
  4. จัดลำดับความสำคัญและลงมือทำ
  5. ชื่นชมตนเอง
อดีตเราทำอะไรไม่ได้ อย่าไปสนใจ หรือใส่ใจ ยอมรับว่าเราทำอะไรไม่ได้ จะได้ไม่ท้อ  ไม่แย่ ไม่จิตตก ไม่เศร้า เลือกทำอย่างจริงจังในสิ่งที่ทำได้ ควบคุมได้ สิ่งที่ทำได้ เช่น เพิ่มทักษะในสัมพันธภาพ ปรับความสมดุลย์ของความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น มีการสื่อสารที่ดี มึความสามารถในการรับฟัง ลากเส้นแบ่งที่เหมาะสม อันไหนยอมรับได้ อันไหนยอมรับไม่ได้ ไม่ให้ใครเอาเปรียบ ทำสิ่งที่รู้สึกว่าดีต่อตนเอง มองเห็นข้อดีของตนเอง ทบทวนสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต รู้สึกขอบคุณสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น จดจ่อในสิ่งที่ทำได้ ลงมือทำ ความก้าวหน้าของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สร้างความเชื่อมัน กำลังใจ มีความหวังต่ออนาคต เป็นการยกระดับอารมณ์ การให้กำลังใจให้กับตนเอง ชื่นชมตนเองในสิ่งที่ทำสำเร็จถึงแม้จะเพียงเล็กน้อย แต่หัวใจสำคัญคือ"ความรู้สึกดีต่อตนเอง"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบฝึกหัด 7