แบบฝึกหัด 7


  1. ทบทวนความสัมพันธ์กับคนรอบข้างใช้ภาษารักอะไร ถ้าเป็นภาษารักที่ไม่ได้รับสัญญาณจากทั้ง 2 ฝ่าย จึงต้องปรับเปลี่ยนภาษารักให้ตรงและเข้าใจกัน
  2. สังเกตความสัมพันธ์กับคนไหน แบบไหน ที่ทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง หรือที่ทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง
  3. ดูแลความสัมพันธ์ให้สามารถตอบโจทย์ท้้ง 2 ฝ่าย เช่น ในฐานะที่เราเป็นเพื่อนกัน คนรักกัน ครอบครัวเดียวกัน
  4. คุณคาดหวังอะไรกับตัวเอง และเขา ในความสัมพันธ์นั้น
  5. ทบทวนความสัมพันธ์แล้วดูว่า ความสัมพันธ์ต่างๆ มีผลต่อความรู้สึกของคุณอย่างไร โดยเฉพาะอารมณ์เศร้า ดูว่าคุณจะตอบโจทย์ให้ดีขึ้นในความสัมพันธ์นั้นได้อย่างไร โดยถามตัวเองว่า ต้องการอะไร คาดหวังอะไร ทบทวนจัดหาความลงตัวของความสัมพันธ์นั้นให้ทุกฝ่ายได้ ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งได้ อีกฝ่ายเสีย

บันทึกย่อ
อารมณ์ของเราจะทุกข์ สุข เครียด ตลอดไปจนถึงซึมเศร้า ขี้นอยู่กับความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่เรารัก คนที่เราแคร์ ในกรณีความสัมพันธ์ที่เรารู้สึกแย่กับทุกๆ คน  น่าจะเกิดจากขบวนการภายในใจของตัวเราเอง เช่น การเปรียบเทียบที่ทำให้รู้สึกด้อยตลอดเวลา เป็นขบวนการภายในใจที่รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง ต่อว่าตัวเองรู้สึกแย่กับตัวเอง บางความสัมพันธ์ยากที่จะมีต่อเนื่องได้เพราะไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้ง 2 ฝ่าย หรือทั้งกลุ่ม แนวโน้มของคนที่มีอาการซึมเศร้าจะใส่ใจคนอื่นจนละเลยใส่ใจตัวเอง ภายใต้ความคาดหวังคือความต้องการลึกๆ ภายในใจ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์คือ ต้องการความยอมรับ มีคุณค่าในความสัมพันธ์นั้น แต่เมื่อเรารู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ หรือรู้สึกไม่มีคุณค่าในความสัมพันธ์นั้น ให้ถือเสียว่าเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องยอมรับตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเอง ฝึกชื่นชมตัวเองเป็นอย่างแรก อย่างไรก็ตามสูตรสำเร็จรูปคือเราต้องเริ่มต้นจากยอมรับตัวเอง ชื่นชมตัวเอง และชื่นชมคนรอบข้าง ใช้ภาษารักทั้ง 5 อย่างส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายรับรู้ได้ ทำเป็นประจำต่อเนื่อง แล้วจะเห็นผลของความสัมพันธ์ที่มีความเท่าเทียมตอบโจทย์ความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบฝึกหัด 8

แบบฝึกหัด 5