จัดการความโกรธ

ความโกรธเป็นอารมณ์ที่ใกล้เคียงและมีความสัมพันธ์กับอารมณ์เศร้า  หลายครั้งเวลาที่เราศร้าภายในใจของเรามีอารมณ์โกรธปะปนอยู่ด้วย ทำความเข้าใจกลไกของความโกรธและความเศร้าให้ชัดเจนขึ้น โดยมีจุดหมายปลายทางที่สำคัญก็คือ ถ้าจัดการความโกรธได้เท่ากับจัดการความเศร้าได้ ในอดีตนักจิตวิเคราะห์ได้ตั้งทฤษฎีไว้ว่า "อารมณ์เศร้าคือความโกรธที่หันพุ่งเข้าตัวเอง" โกรธตัวเองเป็นกลไกอย่างหนึ่งของความเศร้า คนที่มีอาการซึมเศร้า พบว่าหลายคนจะมีอารมณ์โกรธเก็บภายในใจ โดยเฉพาะความโกรธที่ไม่สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นความโกรธคนอื่น และนำมาโกรธตัวเอง ความโกรธตัวเองเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญของการเกิดอารมณ์เศร้า หลายคนจะไม่เฉพาะโกรธตัวเอง แต่จะไม่ชอบตัวเอง รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง จนถึงเกลียดตัวเอง จะมีคำพูดต่อว่าตำหนิตัวเอง

สังเกตอะไรเป็นสาเหตุทำให้โกรธ

  1. ไม่ได้ดั่งใจ ถูกขัดใจ ทำให้โกรธ
  2. มีคนปฏิบัติไม่ดีต่อเรา พูดไม่ดี ทำไม่ดีต่อเรา ทำในสิ่งที่คุกคาม ล้ำเส้น ไม่ให้เกียรติ ดูถูกดูแคลน ทำให้เสียหน้า
  3. ทำให้เสียความรู้สึก ผิดหวัง เสียใจ มักจะเกิดกับคนที่อยู่ใกล้ชิดกับเรา ทำให้รู้สึกเจ็บปวดจากคำพูดเสียดแทง
ถ้าสังเกตอารมณ์ที่เกิดไม่ใช่เฉพาะอารมณ์โกรธ แต่อาจมีอารมณ์กลัวปนอยู่ด้วย เช่น ถูกปาดหน้ารถ ปฏิกิรยาตอบสนองของแต่ละคนจะต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นอารมณ์ บางคนขี้โกรธก็จะรับรู้ว่าโกรธ แต่ไม่ได้ตระหนักอารมณ์กลัว บางคนขึ้กังวลก็จะหงุดหงิดและโกรธ ความโกรธมาคู่กับอารมณ์เศร้า เมื่อมีอารมณ์โกรธ กลัว เศร้า ความยากคือเราไม่สามารถแยกแยะอารมณ์ทั้ง 3  ให้ตระหนักรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นภายในใจมีอารมณ์ต่างๆ อารมณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ตระหนักในความคิด อธิบายเหตุการณ์อย่างไร จัดการอารมณ์ที่ต้นทางซึ่งสามารถคลายอารมณ์โกรธได้แต่ต้น ความเข้าใจที่ถูกต้องก็สามารถทำให้ความโกรธหายไปได้ ให้ตระหนักความคาดหวังนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ มีความเป็นไปได้ไหมในความจริงหรือไม่

ความคาดหวังเราต้องการอะไร ความรัก ความใส่ใจ เปิดใจรับรู้อารมณ์ ทบทวนประสบการณ์ จะมีพลังเกิดขึ้นภายในร่างกาย เมื่อมีอารมณ์โกรธ ทำตาม หรือ เก็บกด ข้อดีของการทำตามอารมณ์โกรธคือได้ระเบิดพลัง แสดงอำนาจ อาจทำให้คนถอยห่างจากเรา และเราจะโดดเดี่ยว จะทำให้ไม่มีความสุข ทำให้รู้สึกผิดเมื่ออารมณ์สงบลง ถ้าเก็บกดจากการรับรู้ใต้จิตสำนึกอาจทำให้ไม่รู้ตัวว่าตัวเองโกรธ เก็บกดอีกแบบคือรู้ตัวว่าโกรธ มีผลเสียต่อสุขภาพ กลับมาโกรธตัวเอง เพราะไม่สามารถจัดการชีวิตอย่างที่หวัง ซึ่งมีผลต่อตัวเราทำให้เกิดความเศร้า คือกลไกที่ทำให้เกิดความเศร้า

ทำอย่างไร จัดการอย่างไร เมื่ออารมณ์ยังมีพลังไม่มาก จะจัดการได้ง่าย รับรู้อารมณ์ได้โดยผ่านทางร่างกาย รับรู้อารมณ์โดยสังเกตอาการทางกาย หน้าร้อนพล่าว เกร็งกราม กำมือ เราไม่ต้องทำตามอารมณ์ ไม่ต้องเก็บกด  สำรวจให้เข้าใจว่าเกิดอะไร เราต้องการอะไรที่ดีในระยะยาว ตั้งสติทบทวน เลือกการกระทำที่ตอบโจทย์ตามความต้องการในระยะยาว

ถ้าโกรธมากจนรู้สึกว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้หยุด แต่ไม่ใช่เก็บกด ตั้งสติแล้วทบทวนความรู้สึกนึกคิด เมตตาคือยารักษาความโกรธ ให้ทำความเข้าใจ และให้อภัย แต่ต้องลากเส้นแบ่งให้เหมาะสม เข้าใจตัวเองอย่าปล่อยให้ใครมาล้ำเส้น ป้องกันตัวเอง หรือในบางครั้งเราทำผิดพลาด ก็ต้องรู้จักให้อภัยตัวเอง

*จัดการอารมณ์โกรธได้ดีเท่ากับจัดการอารมณ์เศร้าได้ดี สามารถดูแลอารมณ์เศร้าอย่างเหมาะสมพร้อมกันไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบฝึกหัด 8

แบบฝึกหัด 5