จัดการความคิด

เปลี่ยนความสัมพันธ์กับความคิดของตัวเองเสียใหม่

การตั้งคำถามระหว่างความสัมพันธ์ของเรากับความคิด  ความคิดที่วิ่งเข้ามาเป็นการพูดกับตัวเอง แต่ละความคิดในหัวของเราจะส่งผลต่ออารมณ์ของเราด้วย เรามักจะเชื่อความคิดของตนเองโดยไม่เคยตั้งคำถามว่ความคิดนั้นมันจริงแค่ไหน ใช่สิ่งที่สามารถทำให้เราไปสู่จุดหมายที่เราต้องการหรือไม่ ดังนั้นการจัดการความคิดเป็นเรื่องของการเปลี่ยนความสัมพันธ์ของความคิดภายในใจของเราเอง แทนที่จะวิ่งตามความคิดของเรา ให้ถอยออกมา มองดูความคิด เลือกที่จะจัดการกับความคิดของตนเองอย่างไร

การจัดการความคิดจะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อเราเข้าใจธรรมชาติของความคิดของเราเอง

  1. สังเกตธรรมชาติของตนเอง แต่ละคนจะมีนิสัยความคิดเฉพาะตัว เป็น "ร่องความคิด" คือคิดอย่างไร ก็จะคิดอย่างนั้นต่อไป ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ข้อดีไม่ต้องคิดมาก เราปล่อยให้ความคิดวิ่งไปตามอัตโนมัติ แต่เนื่องจากร่องความคิดไม่สามารถนำเราไปสู่จุดมุ่งหมายชีวิตที่เราต้องการ เราสามารถสร้างร่องความคิดใหม่ที่สามารถพาเราไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิตที่เราต้องการได้มากยิ่งขึ้น
  2. ตามธรรมชาติเราจะไม่สงสัยความคิดของตนเอง ไม่ตั้งคำถามว่าที่คิดอยู่นี้มันจริงไหม มีความเชื่อความคิดของตนเองราวกับว่ามันเป็นจริงเสมอ เราอาจจะคิดผิดก็ได้ เข้าใจคนอื่นผิด เข้าใจตนเองผิด ต้องฝึกนิสัยตั้งคำถามว่า ความคิดนี้ ใช่ไม่ใช่ จริงไหม
  3. เมื่อเรามีความคิดเป็นร่อง และไม่เคยตั้งคำถาม ทำให้เรามีความคิดหลายความคิด ความคิดตีกันเองเนื่องจากมีหลายความคิดวิ่งเข้ามา ทำให้เกิดความสับสน ยากต่อการแก้ปัญหา
  4. ความคิดที่ตีกันเกิดขึ้นซ้ำๆ แล้วไม่สามารถแก้ปัญหา จะเป็นสาเหตุให้ไม่ชอบตัวเอง โทษตัวเอง เป็นความคิดบลบต่อตนเอง ทำให้จิตตกและเข้าสู่วงจรความซึมเศร้า
ความเข้าใจธรรมชาติความคิด 4 ประการ ช่วยในการเปลี่ยนวิธีการจัดการความคิดใหม่ เปลี่ยนความสัมพันธ์ของความคิด ไม่วิ่งตาม  ไม่เชื่อ ไม่ต้องทำตาม  ไม่ต้องจริงจังกับความคิด เลือกที่จะใช้บางความคิด ความคิดดีๆ ที่จะพาเราไปสู่จุดหมายที่เราต้องการ

การจัดการความคิดแบ่งเป็น 2 หลักใหญ่
  1. จัดการเนื่้อหาความคิด ตั้งคำถาม จริงหรือไม่ เชื่อดีไหม มุมมองอื่นๆ ที่ดีกว่า  หลักฐานยืนยันว่าจริง  ความคิดนี้จะพาเราไปสู่จุดหมายที่เราต้องการหรือไม่ คนที่เป็นกลางจะมองเรื่องนี้อย่างไร  คนที่เป็นคู่กรณีจะมองเรื่องนี้อย่างไร สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราไม่หลงเชื่อความคิดชุดแรกของตนเองที่เข้ามา พยายามตรวจสอบความคิดของตนเองให้สอดคล้องต่อความเป็นจริง และนำพาเราไปสู่จุดหมายได้
  2. จัดการขบวนการความคิด ใช้สติในการถอยออกมา มองดูความคิด เราไม่ต้องเชื่อ อาจจริงหรือไม่จริง หรือแม้ว่ามันจริง  แต่เราเลือกได้ที่จะเชื่อ ขึ้นอยู่กับประโยชน์ของมัน คิดตามนี้แล้วจะทำให้เราสุขหรือทุกข์ จะทำให้เราเดินหน้าต่อ หรือย่ำอยู่กับที่ หลักที่เป็นเคล็ดลับคือ "มันผ่านมาแล้วก็ผ่านไป" เมื่อมีความคิดเราตระหนักรู้ แล้วเราก็มองดูมัน ความคิดนี้ก็สามารถผ่านไปได้ โดยที่มันจะไม่มีอิทธิพลกับตัวเรามาก
ทักษะทั้ง 2 หลักนี้ คือการเปลี่ยนเนื้อหาความคิด กับความรู้ทัน โดยไม่ต้องเชื่อ ไม่ต้องวิ่งตามความคิดของตัวเอง เป็นทักษะที่ยากสำหรับคนฝึกใหม่ ดังนั้นเราต้องเริ่ม 
ฝึกจิตใจให้สงบเป็นระยะ ตระหนักรู้ทันความคิด เป็นพื้นฐานสำหรับการฝึก
ทบทวนความคิดของตนเองโดยการจดบันทึก เขียนบรรยายความคิด "คิดหนอ"
เมื่อเราใช้เทคนิคพูดว่า "ฉันรู้ว่าฉันกำลังคิดว่า..................................................."
*จะช่วยลดพลังความคิดนั้นๆ*

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบฝึกหัด 8

แบบฝึกหัด 5