จัดการอารมณ์ 1

อารมณ์คือสัญญาณ ชีพจรชีวิต

การเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่มีต่ออารมณ์ของตนเอง มีลักษณะคล้ายกันกับการเปลี่ยนความสัมพันธ์ต่อความคิดตนเอง

อารมณ์และความคิดเป็นเรื่องที่ไปด้วยกัน แต่ได้แยกเป็น 2 บท เพื่อให้สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ และแยกแยะอารมณ์กับความคิดได้ดีขึ้น

การเปลี่ยนความสัมพันธ์กับอารมณ์  อารมณ์เป็นสัญญาณบอกของชีวิตบางอย่าง ถ้ารับรู้ว่าอารมณ์ในฐานะที่เป็นสัญญาณบอกให้กับเรา ก็จะได้ข้อมูลภายในใจของเรา และนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ โดยเราต้องเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของอารมณ์

ธรรมชาติของอารมณ์

  1. เกิดขึ้นแล้วย่อมคลายลงตามเวลา อารมณ์ไม่สามารถอยู่คงที่ตลอดไป การที่เราเข้าใจว่าอารมณ์ขึ้นได้ลงได้ เป็นบทเรียนที่เรารู้ว่าเราสามารถจัดการกับปัจจัยของอารมณ์ได้
  2. อารมณ์เป็นผลของความคิด เราต้องสังเกตตัวเอง บางครั้งรู้สึกเศร้า เมื่อคิดโทษตัวเอง ตำหนิตัวเอง รู้สึกไม่ดีกับตัวเองเมื่อคิดเปรียบเทียบกับคนอื่น มองอนาคตแล้วไม่เห็นความหวัง มองปัจจุบันเห็นแต่ด้านลบ  ไม่เห็นสิ่งดีๆ ที่ยังมีอยู่ในชีวิตตัวเอง มองอดีตเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น คิดจมกับอดีตในความเจ็บปวด รู้สึกผิดกับเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต สิ่งเหล่านี้ทำให้เรารู้สึกเศร้า  ความคิดส่งผลต่ออารมณ์ และอารมณ์ก็ส่งผลต่อความคิด เช่น  เมื่อเราเศร้ามักจะมีความคิดลบ
  3. อารมณ์ทุกชนิดจะมีส่วนผสมของอาการภายในร่างกาย ซึ่งมีความสำคัญ สามารถใช้อาการทางร่างกายบอกความรู้สึกทางอารมณ์  อารมณ์เศร้าทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ซึม    และอาการทางกายสามารถย้อนกลับทำให้เราเศร้ามากขึ้น ถ้าเราตระหนักความสัมพันธ์นี้ จะเป็นพื่้นฐานให้เราสามารถจัดการอารมณ์ โดยใช้เทคนิคการผ่อนคลายร่างกาย สร้างสติ
  4. อารมณ์ทุกชนิดเป็นจุดขับเคลื่อนชีวิต อารมณ์ทำให้ภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงพร้อมลงมือกระทำ เช่น อารมณ์โกรธ เตรียมสู้ อารมณ์กลัว เตรียมหนี อารมณ์เศร้าเสียใจ  บ่งบอกความสูญเสียทำให้กลับมาดูแลตัวเอง เราต้องเดินหน้าต่อไป โดยปล่อยวางอารมณ์นั้นๆ
โดยปรกติแล้ว ส่วนใหญ่คนเราจะจัดการกับอารมณ์ของตนเองด้วย 2 วิธี ดังนี้
  1. ระบาย ทำตาม  เวลาเศร้าแล้วทำตาม คือเก็บตัว ไม่ใส่ใจตัวเอง บางครั้งอยากฝึนแต่ไม่มีแรง  จากการเรียนรู้ว่าเราผ่อนคลายร่างกาย มีการเคลื่อนไหว กินดี นอนดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพลังชีวิต จะทำให้เรามีกำลังฝืนอารมณ์เศร้าได้
  2. เก็บกด ปฏิเสธ  เวลาเศร้าแล้วปฏิเสธสู้กับอารมณ์ ผลของการปฏิเสธและการสู้อารมณ์นี้ทำให้เรารู้สึกไม่ชอบอารมณ์เศร้า และทำให้ไม่ชอบตัวเองที่รู้สึกเศร้า ส่งผลโกรธตัวเอง และทำให้ตัวเองมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่าการทำตามหรือปฏิเสธสู้อารมณ์ไม่ได้ช่วยอะไร จึงต้องมีการจัดการอารมณ์แบบใหม่ โดยมีหลักการคล้ายๆ กับการจัดการความคิด โดยมองอารมณ์ว่าเป็นตัวบอกความต้องการบางอย่างภายในใจเรา ถ้าเรารู้ว่าเราต้องการอะไร เราก็สามรถเลื่อกวิธีการในการตอบความต้องการนั้นได้อย่างถูกต้อง

วิธีการจัดการอารมณ์ได้ดีกว่า ใช้อารมณ์เป็นสัญญาณบอกการรับรู้ โดยไม่ต้องทำตาม และเลือกการกระทำที่ตอบโจทย์ชีวิต   ปล่อยความเศร้าให้ไหลเข้ามา จากนั้นรับรู้ว่า เราไม่ต้องทำตามความเศร้านั้น และเราก็ไม่ได้ปฏิเสธความเศร้านั้นด้วย ให้สังเกตว่าเราต้องการอะไร และให้ลงมือทำตอบความต้องการภายในใจ และเมื่อทำสำเร็จจะทำให้เรารู้สึกดี เช่นความภูมิใจในความสำเร็จนั้นๆ  ดังนั้น การหาจุดหมาย เป้าหมายที่เหมาะสม ที่เรามีความพร้อมและสามารถทำได้ก็จะทำให้เรามีพลัง และห่างจากวงจรความเศร้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

แบบฝึกหัด 7